ปรัชญาปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ นโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา
คณะวิทยาการจัดการ
Faculty of
Management Science Southern College of Technology
ปรัชญา
(Philosophy)
“ความรู้ คู่ คุณธรรม นำวิชาชีพสู่การปฏิบัติ”
“Knowledgeable, Ethical, and Pragmatic”
ปณิธาน
(Aspiration)
คณะวิทยาการจัดการเป็นแหล่งพัฒนาบุคลากรทางบัญชีและบริหารธุรกิจ
เพื่อตอบสนองทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับชาติและประชาคมอาเซียน
Faculty of Management Science is established to produce
professional practitioners in accounting and business administration to
response the needs of public and private sectors in national and ASEAN scales.
วิสัยทัศน์ (Vision)
มุ่งผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการทางบัญชีและบริหารธุรกิจ
มีภาวะผู้นำและจรรยาบรรณวิชาชีพ
Aims at producing professional graduates in accounting and business management who have leadership and work ethics.
พันธกิจ
1) ผลิตบัณฑิตนักปฎิบัติการเชี่ยวชาญในศาสตร์ มาตรฐานวิชาชีพ
2) สร้างสรรค์งานวิจัยและงานวิชาการบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน
3) พัฒนางานบริการวิชาการสู่สังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน
4) สืบสานศิลปวัฒนธรรม ดำรงไว้เพื่อความเป็นไทย
1) เพื่อผลิตบุคลากรด้านการบัญชีและบริหารธุรกิจโดยจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2)
เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาบุคลากรทางด้านการบัญชีและบริหารธุรกิจให้สนองตอบความต้องการของชุมชนท้องถิ่นและสังคม
3)
เพื่อให้บริการทางวิชาการด้านการบัญชีและบริหารธุรกิจแก่ประชาชน
ด้วยรูปแบบที่หลาก หลายเหมาะสมโดยชุมชนมีส่วนร่วม
4)
เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการให้ได้องค์ความรู้จากกรณีศึกษา
วิจัยและนำไปใช้ในการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ
5) เพื่อธำรงรักษา
ขนบธรรมเนียมที่ดี ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
และสิ่งแวดล้อมที่ดีของท้องถิ่น และของไทยให้คงอยู่ตลอดไป
คณะวิทยาการจัดการได้มีนโยบายและแนวทางการปฏิบัติในการประกันคุณภาพการศึกษารวม
10 ข้อ ดังนี้
1. ให้สาขาวิชามีระบบการประกันคุณภาพภายใน
และให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาของวิทยาลัย
2. ให้มีคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะโดยมีผู้บริหารระดับสูงสุดเป็นประธาน
มีหน้าที่กำหนดนโยบายและบริหารงานด้านประกันคุณภาพของวิทยาลัย จัดระบบประกันคุณภาพ
พร้อมทั้ง ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพที่เหมาะสมสำหรับสถาบัน
รวมทั้งการวางนโยบายและแผนงานในการสร้างเครือข่ายด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
3. ให้มีรับผิดชอบดูแลงานประกันคุณภาพของสถาบันพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพ จัดทำมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบคุณภาพ ทั้ง 5 ด้าน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด ติดตามให้มีการนำระบบประกันคุณภาพไปใช้ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อสร้างให้เกิดกลไกการปรับปรุงของคณะอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การบริหารงานของคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะ
4. ให้คณะจัดทำระบบประกันคุณภาพของตน ดำเนินการประกันคุณภาพภายในที่สอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพของวิทยาลัย และจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report : SAR) หรือรางานประจำปีที่เป็นผลจากการประกันคุณภาพภายใน ที่ครอบคลุมการดำเนินงานตามองค์ประกอบคุณภาพที่วิทยาลัยกำหนดอย่างต่อเนื่องทุกปี
5. รายงานประจำปี (รายงานการประเมินตนเอง) ของคณะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนกการประเมินเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายใน ภายนอกและการรับรองวิทยาฐานของคณะ
6. ให้คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะ
รับผิดชอบการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (รายงานประจำปี) ของคณะ เสนอต่อวิทยาลัย
7. ให้มีการพัฒนาความรู้ด้านการประกันคุณภาพแก่บุคลากรและนักศึกษา
ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วม การสร้างระบบประกันคุณภาพ
ตลอดจนตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายในการสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้นในองค์กร
8. ผู้บริหารของคณะต้องชี้แจงให้อาจารย์และบุคลากรของตนเข้าใจในระบบประกันคุณภาพตลอดจนตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายที่มีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพงาน
9. ให้มีการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการของคณะอย่างต่อเนื่อง
ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณภาพที่กำหนด เพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับให้ผู้บริหารของหน่วยงาน
และของวิทยาลัยนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
10.
ผู้บริหารของคณะ
จะต้องนำข้อมูลที่ได้จากรายงานสรุปผลการตรวจประเมินไปใช้ในการวางแผนพัฒนาและปรับปรุงระบบการทำงานให้ดียิ่งขึ้น